ใครว่าการฟังเพลง ฟังดนตรีนอกจะเป็นการฟังเพื่อความสนุกแล้ว การฟังเพลง ดนตรี ยังมีข้อดีอีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจ แต่ถ้าหากคุณยังสงสัยว่าการฟังเพลง ฟังดนตรีช่วยเรื่องอะไรบ้าง เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว 

ดนตรีบำบัดคืออะไร 

การบำบัดด้วยดนตรีหรือ Music Therapy เป็นการใช้ดนตรีเพื่อรักษาผู้ป่วยหรือส่งเสริมการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ในร่างกาย จิตใจ ความคิด และทักษะทางสังคม นั่นคือกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่ต้องการเสริมสร้างจิตใจให้ดีขึ้น และช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ 

การฟังดนตรีเพื่อการบำบัดได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานแล้ว ในการแพทย์ดนตรีบำบัดได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการรักษามาอย่างยาวนาน ความเชื่อว่าดนตรีมีความสามารถในการผ่อนคลายอาการเจ็บป่วยและความกังวล เพื่อลดความเครียด อย่างไรก็ตามมีการวิจัยที่ได้ศึกษาถึงการใช้ดนตรีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อลดความเครียดและความกังวล พบว่าฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดลดลงมากกว่าการใช้ยาลดความเครียด การฟังดนตรียังช่วยลดภาวะซึมเศร้าด้วย การช่วยปรับอารมณ์ให้สงบขึ้นและกระตุ้นสมอง นอกจากนี้ยังช่วยปรับระดับ Cortisol ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย ดนตรีบำบัดที่ใช้ไม่จำกัดเพลงบรรเลงหรือเสียงธรรมชาติเท่านั้น ทุกประเภทของเพลงไม่ว่าจะเป็นคลาสสิค แร๊ป ลูกทุ่ง ฮิพฮอพ และอื่น ๆ ก็สามารถช่วยให้ผู้ฟังผ่อนคลายได้ โดยขึ้นอยู่กับความชื่นชอบและสมาชิกกับเพลงมากที่สุด

ดนตรีบำบัดต้องเริ่มทำอย่างไร?

ปัจจุบันมีการใช้ดนตรีบําบัดโรคทางจิตเวช ยกตัวอย่างพฤติกรรมถดถอย แยกตัวที่เป็นอาการในลักษณะเรื้อรัง สามารถใช้ดนตรีบําบัดได้ ดังนี้

• เปิดเพลงจังหวะเร้าใจ

• ขยับตัวเข้าจังหวะ

• ใช้ดนตรีแบบเคาะจังหวะ

• ใช้อุปกรณ์เกิดเสียงให้ผู้ป่วยได้เขย่า หรือฟังเพลง

• บอกถึงความรู้สึกที่ได้จากเพลง

• ทําตามนี้ครั้งละ 1-1.30 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

หากทําได้ตามนี้ ผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างรวดเร็วในชั่วโมงที่ 2 ของการบําบัด ผู้ป่วยที่รู้สึกเหงา เศร้าจะยิ้มแย้มได้หลังจากไม่เคยยิ้มมานานอีกด้วย

ประโยชน์ของการทำดนตรีบำบัด

1. เพิ่มคุณภาพชีวิต

2. การจัดการความเครียด

3. การกระตุ้นความจำ

4. เพิ่มทักษะการสื่อสาร

5. บรรเทาอาการเจ็บปวด

6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

7. ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม

สรุปการเลือกใช้ดนตรีบำบัดเพื่อผ่อนคลายความเครียดไม่ได้อยู่เฉพาะกับการเลือกว่าจะใช้ดนตรีแบบใด แต่มากกว่านั้นคือการเลือกว่าจะใช้ดนตรีอย่างไรในกระบวนการบำบัด นั่นหมายความว่าการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาจต้องพิจารณาความต้องการและเป้าหมายของผู้ที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด อาจเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด และความชื่นชอบเพลงประเภทใด การเลือกฟังเพลงคลาสสิคหรือเพลงบรรเลงเพื่อผ่อนคลายก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับบางคน หรืออาจไม่เป็นการรักษาที่เหมาะกับสภาวะของคนนั้น สรุปว่าเราควรเลือกใช้ดนตรีที่เหมาะสมและปรับปรุงเพลงให้เหมาะกับกระบวนการบำบัดการผ่อนคลายความเครียดเป็นอย่างดี